วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภูผาหมอก พาเที่ยวเชียงราย

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของจังหวัดเชียงราย
อ. เมือง
วัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๕๒ ตารางวา ตั้งอยู่ที่ถนนสิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สันนิษฐานกันว่า น่าจะสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๒๘ ในรัชสมัยของพระเจ้ามหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนา เจ้าเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมาครองเมืองเชียงรายระหว่างพุทธศักราช ๑๘๘๘ - ๑๙๔๓
ความสำคัญและความเป็นมา
สาเหตุที่วัดนี้ มีชื่อว่า “วัดพระสิงห์” นั้น น่าจะเป็นเพราะครั้งหนึ่ง เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทย คือ พระพุทธสิหิงค์ หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า “พระสิงห์” ปัจจุบันวัดพระสิงห์เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธสิหิงค์ (หรือพระสิงห์) จำลองศิลปะเชียงแสน ปางมารวิชัย ชนิดสำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง ๓๗ เซนติเมตร สูงทั้งฐาน ๖๖ เซนติเมตร
ตำนานพระสิงห์
พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาอย่างยาวนานมีหลักฐานปรากฏในสิหิงคนิทานบันทึกไว้ว่า สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศักราช ๗๐๐ ในประเทศลังกา และประดิษฐานอยู่ที่ลังกา ๑๑๕๐ ปี จากนั้นได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานยังราชอาณาจักรไทยตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ.๑๘๕๐ ประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย ๗๐ ปี
พ.ศ.๑๙๒๐ ประดิษฐานที่พิษณุโลก ๕ ปี
พ.ศ.๑๙๒๕ ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ๕ ปี
พ.ศ.๑๙๓๐ ประดิษฐานที่กำแพงเพชร ๑ ปี
พ.ศ.๑๙๓๑ ประดิษฐานที่เชียงราย ๒๐ ปี
พ.ศ.๑๙๕๐ ประดิษฐานที่เชียงใหม่ ๒๕๕ ปี
พ.ศ.๒๒๕๐ ประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ๑๐๕ ปี
พ.ศ.๒๓๑๐ ประดิษฐานที่เชียงใหม่ ๒๘ ปี
พ.ศ.๒๓๓๘ ประดิษฐานที่กรุงเทพฯ – ปัจจุบัน ประประธาน
พระประธานในพระอุโบสถวัดพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง เนื้อสำริดปิดทอง ปางมารวิชัย สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ มีหน้าตักกว้าง ๒๐๔ เซนติเมตร สูงทั้งฐาน ๒๘๔ เซนติเมตร ที่ฐานมีอักษรล้านนาจารึกว่า "กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา"
พระอุโบสถ
พระอุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทยสมัยเชียงแสน โครงสร้างทำด้วยไม้เนื้อแข็ง สันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นเมื่อราวจุลศักราช ๑๒๕๑ - ๑๒๕๒ (พ.ศ.๒๔๓๒ - ๒๔๓๓) ต่อมามีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกสองครั้งคือ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยพระครูสิกขาลังการ และ พ.ศ.๒๕๓๓ โดยพระเดชพระคุณ พระราชสิทธินายก เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์
พระเจดีย์
พระเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทย เชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกันกับพระอุโบสถ มีการบูรณะใหม่ในปี ๒๔๙๒ และบูรณะอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๓๓ แต่เดิมทาสีขาว ปัจจุบันทาสีทองเด่นเป็นสง่า ประดิษฐานอยู่ทิศตะวันตกชิดด้านหลังพระอุโบสถ
“ ลออเพียงพิษณุแกล้ง เกลาทรง
อร่ามเรื่อแกมกาญจน์องค์ อะคร้าว
เจดีย์เด่นธำรง ธรรมศาสน์
ประดิษฐ์ประดับด้าว เด่นสร้างขวัญสมัย ”
บานประตูหลวง
บานประตูหลวง ทำด้วยไม้แกะสลักจิตกรรมอย่างประณีตวิจิตรบรรจง เป็นปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ ออกแบบโดยศิลปินเอกผู้มีผลงานเป็นที่กล่าวขานในระดับโลก นามว่า “อ.ถวัลย์ ดัชนี” เป็นเรื่องราวของ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันหมายถึง ธาตุทั้ง ๔ ที่มีอยู่ในร่างกาย คนเราทุกคน
ดิน คือ เนื้อ หนัง กระดูก
น้ำ คือ ของเหลวต่างๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย เช่น น้ำ โลหิต ปัสสาวะ
ลม คือ อากาศที่เราหายใจเข้าออก ลมปราณที่ก่อเกื้อให้ชีวิตเป็นไป
ไฟ คือ ความร้อนที่ช่วยในการเผาผลาญอาหารเกิด พลังงาน
แนวคิดของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ถ่ายทอดธาตุทั้ง ๔ ออกเป็นสัญลักษณ์รูปสัตว์ ๔ ชนิด เพื่อการสื่อความหมายโดยให้
ช้าง เป็นสัญลักษณ์ของ ดิน
นาค เป็นสัญลักษณ์ของ น้ำ
ครุฑ เป็นสัญลักษณ์ของ ลม
สิงห์โต เป็นสัญลักษณ์ของ ไฟ
ผสมผสานกันโดยมีลวดลายไทยเป็นส่วนประกอบ ทำให้มีลีลาเฉพาะแบบของ อ.ถวัลย์ ดัชนี งานแกะสลักบานประตูวิหารนี้ พระราชสิทธินายก เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้มอบความไว้วางใจให้ สล่าอำนวย บัวงาม หรือ สล่านวย และลูกมืออีกหลายท่านเป็นผู้แกะสลัก ใช้เวลาในการแกะสลักเกือบหนึ่งปี ได้บานประตูมีขนาด กว้าง ๒.๔๐ เมตร ยาว ๓.๕๐ เมตร และหนา ๐.๒ เมตร ด้วยลวดลายและลีลาการออกแบบ และฝีมือการแกะสลักเสลาอย่างประณีตบรรจง นับว่า บานประตูนี้ได้ช่วยส่งเสริมความงดงาม ของพระวิหารได้โดดเด่นมากขึ้น
พระพุทธบาทจำลอง
พระพุทธบาทจำลองจำหลักบนแผ่นศิลาทราย มีขนาดกว้าง ๖๐ เซนติเมตร ยาว ๑๕๐ เซนติเมตร มีจารึกอักษรขอมโบราณ ว่า "กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา" ปราชญ์บางท่านสันนิษฐานว่า น่าจะมีมาแต่สมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนาไทย
“ จำหลักจำรัสให้ โลกเห็น
รอยบาทพระดั่งเป็น ประทีปแก้ว
จารึกพุทธธรรมเพ็ญ พิสุทธิ์
ฝากปริศนาธรรมแพร้ว เพริศพริ้งไผทเกษม ”
หอระฆัง
เป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยแบบล้านนาไทยประยุกต์ มีระฆังเป็นแบบใบระกาหล่อด้วยทองเหลืองทั้งแท่ง ซึ่งหาดูได้ยากมากในปัจจุบัน ขนาดความสูง ๒๕ นิ้ว ยาว ๓๙ นิ้ว หนา ๑ นิ้ว ขุดพบบริเวณวัดพระสิงห์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๘ ปัจจุบันชั้นล่างใช้เป็นหอกลอง
ต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา
ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนา คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้เมื่อวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ พลโทอัมพร จิตกานนท์ นำมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยความอนุเคราะห์จากท่านเอกอัครราชทูตอินเดียและอาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารตะ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๖ และปลูกไว้ ณ วัดพระสิงห์เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๖
“ ระบัดใบประดับฟ้า เฟือนจันทร์
อัสสัตพฤกษ์พันธุ์ พิเศษไม้
บรมครูชนะมารนันต์ เนืองเอนก
“โพธิพฤกษ์” จึ่งใช้ ชื่ออ้างอนุสรณ์ ”
ต้นสาละลังกา
ต้นสาละลังกาเป็นไม้มงคลเนื่องในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ คือ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับสำเร็จสีหไสยาสน์เป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมกิตติโสภณ นำมาจากประเทศศรีลังกา และนำมาปลูกไว้ที่วัดพระสิงห์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒
เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์
วัดพระสิงห์ มีเจ้าอาวาสที่บริหารวัดสืบต่อกันมานับแต่ปีที่สร้างวัด จนปัจจุบันจำนวน ๙ รูป คือ
๑. ครูบาปวรปัญญา พ.ศ. ๑๙๔๓ - ๑๙๖๒
๒. ครูบาอินทจักรรังษี พ.ศ. ๑๙๖๒ - ๑๙๘๕
๓. พระอธิการอินตา พ.ศ. ๑๙๘๕ - ………
๔. พระมหายศ พ.ศ. …………………
๕. พระธรรมปัญญา พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๔๐
๖. พระครูเมธังกรญาณ (ป๊อก) พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๗๓
๗. พระครูเมธังกรญาณ (ดวงต๋า) พ.ศ. ๒๔๗๓ - ๒๔๘๘
๘. พระครูสิกขาลังการ พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๕๒๒
๙. พระราชสิทธินายก พ.ศ. ๒๕๒๓ - ปัจจุบัน
การเดินทาง ใช้เส้นทางเดียวกับการไปวัดพระแก้ว แต่อยู่ถึงก่อนวัดพระแก้ว วัดพระสิงห์อยู่ทางด้านซ้ายมือตรงข้ามกับสำนักงาน ททท ภาคเหนือเชียงราย

วัดร่องขุ่น

ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน ์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่น รังสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตาผสานวัฒนะธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนังขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของวัดคือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง

การเดินทาง : ถนนสายเชียงราย - กรุงเทพฯ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ วัดร่องขุ่นจะอยู่ก่อนถึงตัวเมืองเชียงราย 13 ก.ม ตรงหลัก ก.ม ที่ 816 ถนนพลหลโยธิน (หมายเลข 1 / A2 ) เลี้ยวเข้าไปประมาณ 100 เมตร จะมีป้ายบอกเป็นระยะๆ

วันเวลาที่แนะนำ : สามารถเที่ยวชมได้ตลอดปี (เปิดให้เข้าชม เวลา 06.30-18.00 น.)

ข้อมูลเพิ่มเติม : วัดร่องขุ่น โทรศัพท์ 053-673579 สำนักงาน ททท. ภาคเหนือเขต 2 โทรศัพท์ 053-717433
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม บ้านร่องขุ่น ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000 ตั้งอยู่ กม.ที่ 817ก่อนถึงตัวเมือง 13 กม. โทร / แฟ็กซ์ 053-673579  โฮมเพจ / เว็บไซต์ : http://www.watrongkhun.com

วัดพระแก้ว 

 
วัดพระแก้ว เป็นจุดที่ค้นพบพระแก้วมรกต และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตเป็นเวลา 45 ปี ก่อนที่จะเอิญไปยังเชียงใหม่ วันนี้แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดป่าเยี้ย หลังพระอุโบสถมีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งได้พังลงมาแล้วได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่งตกลงมาจากเจดีย์จึงได้อัญเชิญไปไว้วิหารหลวงได้ 2 เดือน ต่อมาปูนกระเทาะออกจึงเห็นเป็นแก้วสีเขียวทั้งองค์ หลังจากนั้นวัดนี้จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า วัดพระแก้ว ปัจจุบันเจดีย์องค์ดังกล่าวได้รับการบูรณะใหม่เป็นเจดีย์หุ้มทองจังโก๋เหลืองอร่ามทั้งองค์

พระอุโบสถ์ ในวัดพระแก้วมีความงดงามมาก ในปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน คนเชียงรายเรียกกันว่า "พระเจ้าล้านทอง" เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเชียงรายเคารพนับถือเป็นอันมาก แต่เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทอง ต่อมามีสภาพเป็นวัดร้างจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดดอยงำเมือง และได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดพระแก้วเมื่อปี 2504

พระแก้วหยก เป็นพระพุทธรูปหยกที่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชียงรายร่วมกันสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2533 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 ก.ย. พ.ศ. 2534 ชาวเชียงรายได้อัญเชิญมาประดิษฐานหอพระ ณ วัดพระแก้ว เรียกว่า พระหยกเชียงราย ปัจจุบัน วัดพระแก้วมีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521

การเดินทาง เมื่อถึงห้าแยกพ่อขุนเม็งรายกลางตัวเมืองเชียงรายให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสิงหไคล แล้วตรงเรื่อยๆ จนสุดทางสามแยกให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 100 เมตร จะเห็นวัดพระแก้วอยู่ทางขวามือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 19 หมู่1 ถ.ไตรรัตน์ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000 (ใกล้กับศาลากลางจังหวัด หลังใหม่) , อีเมล์: watphrakaew-chiangrai@hotmail.com
โทร / แฟ็กซ์ 053-711385, 053-718534
โฮมเพจ / เว็บไซต์ : http://www.watphrakaew-chiangrai.com/


วัดพระธาตุจอมทอง / วัดพระธาตุดอยจอมทอง
 
เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งได้ออกเดินทางไปสู่เมืองลังกาทวีป และนำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งเป็น พระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสอง รวมสามองค์ ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)


วัดพระธรตุดอยจอมทอง หรือ วัดดอยทอง ตั้งอยู่ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โทร o ๕๓๗๑ - ๖๖o๕ มีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ เป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)

เสาสะดือเมือง 108 หลัก เสาสะดือเมืองนี้ชาวเชียงรายได้ร่วมใจกันสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังราย และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบ โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และรัฐบาลเยอรมนี เสาสะดือเมือง 108 หลัก ตั้งอยู่บนรูปแบบสมมุติของจักรวาลอันเป็นคติที่มีมาแต่โบราณ ด้านหน้าหันไปทางทิศตะวันออก ลานรอบนอกหมายถึงแผ่นดิน ล้อมรอบด้วยคูน้ำอันเปรียบได้กับน้ำในขอบจักรวาล รอบในยกขึ้นเป็นหกชั้นหมายถึงสวรรค์ทั้งหกของกามภูมิ แล้วยกขึ้นอีกสามชั้นซึ่งหมายถึงรูปภูมิ อรูปภูมิ และชั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน สำหรับตัวเสาสะดือเมืองเป็นดั่งเขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่บนฐานสามเหลี่ยม หมายถึงตรีกูฏบรรพตหรือผาสามเส้า ล้อมด้วยเสา 108 ต้น อันหมายถึงสิ่งสำคัญในจักรวาล และล้อมรอบอีกชั้นด้วยร่องน้ำห้าร่องซึ่งเปรียบเป็นปัญจมหานทีลดหลั่นเป็นชั้นไหลลงสู่พื้นดินตามคติโบราณของล้านนา เสาสะดือเมืองจะใหญ่เท่าห้ากำมือและสูงเท่ากับความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน โคนเสาสะดือเมืองนี้จึงใหญ่เท่ากับห้าพระหัตถ์กำ และสูงเท่ากับส่วนสูงแห่งพระวรกาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ได้เสด็จมาเจิมเสาสะดือเมืองนี้ เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2531ชาวเชียงรายมีความเคารพศรัทธาเสาสะดือเมืองแห่งนี้มาก จึงนิยมมาสรงน้ำเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของชาวเมือง และเชื่อว่าน้ำที่สรงเสาสะดือเมืองแล้วเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์

การเดินทาง จากห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช เข้าถนนอุตรกิจไปจนถึงสี่แยกพหลโยธิน (สายใน) เลี้ยวขวาผ่านหน้ากองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสิงหไคล ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหยือเขต ๒ ตรงไปจนถึงปากทางเข้าศาลากลางจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายเข้าถนนไตรรัตน์ ผ่านวัดพระแก้ว เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนเชียงรายวิทยาคม เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่งขึ้นดอยทองผ่านวัดงำเมืองไปประมาร ๓๕o เมตร ก็จะถึงปากทางขึ้นพระธาตุดอยจอมทอง

คำบูชาพระธาตุจอมทอง
วันทามิ เจติยัง สัมพัฏฐาเนสุ ปติฏฐิตา สรีระธาตุ มหาโพธิง พุทธะรูปัง สกลังสทา
นาคะโลเก เทวะโลเก ตาวะตังเส พรัมมะโลเก ชัมภูทีเป ลังกาทีเป
สรีระธาตุโย เกสาธาตุโย อรหันตาธาตุ โยเจติยัง คันธะกุฏิ จตุราสีติ
ติสะหัสสะ ธัมมักขันธา ปาทะเจติยัง นะระเทเวหิ อหังวันทามิ ธาตุโย อหังวันทามิ
ทูระโต อหังวันทามิ สัพพะโส

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม วัดพระธาตุจอมทอง อยู่บนดอยจอมทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย
โทร / แฟ็กซ์ 053-715057

วัดพระธาตุจอมสัก
พระธาตุจอมสัก เดิมชื่อ พระธาตุดอยบ้านยาง เป็นวัดสังกัดมหานิกาย ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำกกมากนัก
ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 92 ไร่ บริเวณรอบๆ เป็นวัดสวนป่าสัก จึงได้ชื่อว่าวัดพระธาตุจอมสัก
จากการสำรวจของหัวหน้ากรมศิลปากรในครั้งนั้นได้ภาพถ่ายทางอากาศของวัดพระธาตุจอมสักมาดู
พบว่าบริเวณรอบๆ มีคูน้ำล้อมรอบอยู่ จากหลักฐานทางที่จารึกบนใบลานพบว่า
สร้างขึ้นในสมัยโยนกไชยบุรีศรีเชียงแสน
วัดพระธาตุจอมสัก
ตั้งอยู่ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โทร. 053-703196 มีพระอธิการอภิเดช เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมสัก เดิมชื่อ พระธาตุดอยบ้านยาง เป็นวัดสังกัดมหานิกาย ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำกกมากนัก ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 92 ไร่ บริเวณรอบๆ เป็นวัดสวนป่าสัก จึงได้ชื่อว่าวัดพระธาตุจอมสัก จากการสำรวจของหัวหน้ากรมศิลปากรในครั้งนั้นได้ภาพถ่ายทางอากาศของวัดพระธาตุจอมสักมาดู พบว่าบริเวณรอบๆ มีคูน้ำล้อมรอบอยู่ จากหลักฐานทางที่จารึกบนใบลานพบว่า สร้างขึ้นในสมัยโยนกไชยบุรีศรีเชียงแสน จนถึงสมัยพระเจ้าพังคราช กษัตริย์แห่งราชวงค์โยนก องค์ที่ 24ได้มีพระเถระองค์หนึ่งชาวโกศล เมืองสุธรรมาวดี นามพระพุทธโฆษาจารย์ ได้นำพระบรทสารีริกธาตุจากประเทศลังกามาถวายพระองค์จำนวน 16 องค์ พระเจ้าพังคราชทรงโปรดให้แบ่งพระธาตุออกเป็น 3 ส่วน

- ส่วนหนึ่งประดิษฐานอยู่บนพระธาตุดอยจอมทอง

- ส่วนที่สองประดิษฐานอยู่บนพระธาตุจอมกิติ

- และส่วนที่สามนำมาประดิษฐานที่พระธาตุดอยบ้านยาง
ในวันพุธขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ สร้างมานานถึง 3 ปี ฐานกว้าง 3 วา สูง 6 วา 3 ศอก จากการล่มสลายของเมืองทำให้วัดแห่งนี้กลายเป็นวัดร้าง หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2490 พระครูบาคำหล้า สังวโร ได้เป็นประธานในการบูรณะพระธาตุองค์ใหม่ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ และพร้อมกับสร้างวิหารเรือนไม้สักยกใต้ถุนตั้งอยู่ทางเหนือขององค์เจดีย์ และรอบๆองค์เจดีย์ มีการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ เช่นพระพุทธรูปปางสมาธิ ปางมารวิชัย และมีการสร้างบันไดขึ้นไปยังองค์เจดีย์อีกด้วย และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นพระธาตุจอมสักจนถึงทุกวันนี้

ความเชื่อ ในการไหว้ พระธาตุดอยจอมสัก เชื่อกันว่าถ้าได้กราบไหว้ท่านจะได้รับสิริมงคลสูงสุดและพานพบแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์

การเดินทาง จากอำเภอแม่จันใช้ถนนเชียงราย-แม่สาย (ทางหลวงหมายเลข 1 ) ลงใต้สู่อำเภอเมือง ผ่านตลาดบ้านดู่ ปากทางเข้าท่าอากาศยานเชียงราย ห้างสรรพสินค้าแมคโคร พบยูเทริ์นแรกเลี้ยวขวา เข้าปากทางเข้าพระธาตุจอมสักพอดีเข้าไปอีกประมาณ 400 เมตร รวมระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร
สอบถามเพิ่มเติม เทศบาลตำบลบ้านดู่ โทร. 053-703653

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม วัดพระธาตุจอมสัก ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
โทร / แฟ็กซ์ 053-703196
โฮมเพจ / เว็บไซต์ : ไม่ระบุ

วัดพระธาตุดอยเขาควาย
ตามตำนานพื้นบ้าน เล่าว่า ประมาณ 1,000 กว่าปีล่วงมา ได้มีพระยาธรรมมิกะราช เจ้าผู้ครองเมืองเชียงรายสมัยนั้น เป็นผู้ก่อสร้างวัดพระธาตุดอยเขาควาย ขึ้นมา โดยได้นำพระบรมสารีริกธาตุ อันเป็นข้อมือนิ้วก้อยข้างซ้ายของพระพุทธเจ้าที่คณะสงฆ์เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนล้านนา ได้นำมาถวายให้พระยาธรรมมิกะราช จึงให้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ใส่บรรจุไว้ในองค์เจดีย์ เพื่อให้ พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้กราบไว้บูชา ต่อมาได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้งในสมัยเชียงแสน และสมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปัจจุบันในทุกๆปีจะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันเพ็ญเดือนแปดเป็ง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ วิสาขบูชา
วัดพระธาตุดอยเขาควาย
ตั้งอยู่ บนดอยเขาควาย ซอยหนองปึ๋ง 1ห่างจากตัวเมืองเชียงรายไปตามถนนราชโยธา ประมาณ 3 กิโลเมตร จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายเข้าซอยหนองปึ๋ง 1 ขึ้นดอยไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร รถขนาดใหญ่ไม่สามารถขึ้นได้
สิ่งที่น่าสนใจ พระธาตุดอยเขาควายแก้วเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุและเป็นจุดชมวิวเมืองเชียงรายที่มีความสวยงามและใกล้ตัวเมืองมากที่สุด

ประวัติพระธาตุดอยเขาควาย ตามตำนานพื้นบ้าน เล่าว่า ประมาณ 1,000 กว่าปีล่วงมา ได้มีพระยาธรรมมิกะราช เจ้าผู้ครองเมืองเชียงรายสมัยนั้น เป็นผู้ก่อสร้างวัดพระธาตุดอยเขาควาย ขึ้นมา โดยได้นำพระบรมสารีริกธาตุ อันเป็นข้อมือนิ้วก้อยข้างซ้ายของพระพุทธเจ้าที่คณะสงฆ์เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนล้านนา ได้นำมาถวายให้พระยาธรรมมิกะราช จึงให้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ใส่บรรจุไว้ในองค์เจดีย์ เพื่อให้ พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้กราบไว้บูชา ต่อมาได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้งในสมัยเชียงแสน และสมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปัจจุบันในทุกๆปีจะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันเพ็ญเดือนแปดเป็ง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ วิสาขบูชา






วัดกลางเวียง
วัดพระธาตุดอยกองข้าว /ดอยก่องข้าว
วัดงำเมือง
วัดมุงเมือง









วัดศรีบุญเรือง วัดป่าดอยพระบาท วัดมิ่งเมือง วัดศรีเกิด วัดพระธาตุแม่แอบ









วัดเจ็ดยอด โบราณสถานถ้ำพระ น้ำตกห้วยแก้ว น้ำตกห้วยแม่ซ้าย น้ำตกขุนกรณ์









น้ำตกโป่งพระบาท น้ำตกห้วยชมภู หรือ น้ำตกห้วยส้าน น้ำตกห้วยตาด หนองคือเวียง หาดเชียงราย(พัทยาน้อย )









ต้นน้ำลำธารและแหล่งน้ำสำคัญของจังหวัดเชียงราย บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม บ่อน้ำร้อนผาเสริฐ น้ำพุร้อนโป่งพระบาท พิพิธภัณฑ์อูบคำ









พิพิธภัณฑ์ชาวเขา พิพิธภัณฑ์รอยพระบาท รัชกาลที่ 9 สวนสาธารณะเกาะลอย...สถานที่ออกกำลังกายที่สวยที่สุดอีกแห่งหนึ่งในเมืองเชียงราย... สวนสาธารณะสนามบินเก่า สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ เชียงราย









สวนตุงและโคม เชียงราย อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก(ห้วยหมากเลี่ยม) อาคารแสดงศิลปะการแต่งกาย 30 ชนเผ่า ในจังหวัดชียงราย รวมหมู่บ้านชาวเขา และหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว จ.เชียงราย มูเซอดอยปูไข่









หมู่บ้านชาวเขา(ดอยฮาง) ขี่ช้างเที่ยว..บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร.. การล่องแก่ง (ล่องแม่น้ำกก) ล่องแพหาดผาขวาง ล่องคยัคท่าตอน - เชียงราย









โครงการท่องเที่ยวชนเผ่า มูลนิธิกระจกเงา ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมชนเผ่า บ้านจะแล สถานีเกษตรที่สูงตามแนวพระราชดำริ บ้านปางขอน สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ดอยบ่อ เนเจอรัลโฟกัส









ไร่แม่ฟ้าหลวง (อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง) ดอยดัง..นางแล ศูนย์ภาษาวัฒนธรรมจีนสิรินธร พุทธอุทยานธุดงวัดพระธาตุดอยอินทรีย์ กำแพงเมืองจีนจำลองเชียงราย









หอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติ กาญจนาภิเษก ล่องเรือแม่น้ำกก (ท่าตอน-เชียงราย) สวนป่าแม่ยาว-แม่ซ้าย ทัวร์สามล้อผ่อวัด วัดเชตวัน หรือ วัดพระนอน











อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช วนอุทยานดอยกาดผี วนอุทยานน้ำตกตาดสวรรค์

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภูผาหมอก...ที่พักบนภูชี้ฟ้า เชียงราย

คำขวัญประจำจังหวัดเชียงราย
เหนือสุดในสยาม                   ชายแดนสามแผ่นดิน
ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา              ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

จังหวัดเชียงราย :: การเดินทาง

ทางรถยนต์
สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑ จากอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ผ่านตากฟ้า-วังทอง-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๐๓ ไปอำเภองาวแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๑ ผ่านพะเยาไปจังหวัดเชียงราย ระยะทาง ๗๘๕ กิโลเมตร ขากลับใช้เส้นทางเชียงราย-เชียงใหม่ ผ่านอำเภอแม่สรวย-เวียงป่าเป้า-แม่กระจาน-ดอยสะเก็ด ทิวทัศน์สองข้างทางเป็นป่าเขาสวยงาม เมื่อเดินทางมาถึงเชียงใหม่แล้วจะมีทางหลวงหมายเลข ๑๑ ผ่านลำพูนมาลำปาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข ๑ เพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้

รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ บ.ข.ส. และบริษัทเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร ๒ ไปเชียงรายทุกวัน สอบถามรายละเอียดที่สถานีขนส่งสายเหนือ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ http://www.transport.co.th/

รถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพ มีรถไฟไปลงที่จังหวัดลำปางหรือเชียงใหม่ แล้วเดินทางต่อโดยรถยนต์ ไปจังหวัดเชียงราย สอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทางสถานีรถไฟกรุงเทพ โทร. ๐ ๒๒๒๐ ๔๓๓๔, ๐ ๒๒๐ ๔๔๔๔ สำรองตั๋วล่วงหน้า ๓ วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๖๐ วัน หรือ http://www.railway.co.th/

เครื่องบิน
มีเที่ยวบินตรงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงรายทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่


- แอร์เอเซีย วันละ 2 เที่ยวบินโทร. ๐ ๒๕๑๕ ๙๙๙๙ http://www.airasia.com/
   เที่ยวไป 06.40 น. และ 19.35 น.
   เที่ยวกลับ 8.20 น., 21.15 น.


- โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ โทร. ๑๑๒๖, ๐ ๒๒๖๗ ๒๙๙๙ http://www.onetwo-go.com/


- การบินไทย มีเที่ยวบินวันละ 4 เที่ยวบิน http://www.thaiairways.com/
  เที่ยวไป เที่ยวแรก 08.25 น. เที่ยวสุดท้าย 18.30 น.
  เที่ยวกลับ เที่ยวแรก 10.30 น. เที่ยวสุดท้าย 20.35 น. โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐


- ท่าอากาศยานเชียงราย โทร. ๐ ๕๓๗๙ ๓๐๔๘


ทางเครื่องบิน ( เวลาเที่ยวบินอาจเปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือน ) การเดินทางระหว่างจังหวัดเชียงราย กับจังหวัดใกล้เคียง

จากสถานีขนส่งเชียงราย มีรถโดยสารไปเชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง แม่สอด พิษณุโลก พัทยา นครราชสีมา นครพนม อุดรธานี และขอนแก่น ติดต่อสถานีขนส่งเชียงราย โทร. ๐ ๕๓๗๑ ๑๒๒๔


ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ
อำเภอเวียงชัย ๑๒ กิโลเมตร
อำเภอแม่จัน ๒๐ กิโลเมตร
อำเภอพาน ๔๖ กิโลเมตร
อำเภอพญาเม็งราย ๔๘ กิโลเมตร
อำเภอป่าแดด ๕๒ กิโลเมตร
อำเภอแม่สรวย ๕๓ กิโลเมตร
อำเภอแม่ฟ้าหลวง ๕๕ กิโลเมตร
อำเภอเชียงแสน ๖๐ กิโลเมตร
อำเภอแม่สาย ๖๓ กิโลเมตร
อำเภอเทิง ๖๔ กิโลเมตร
อำเภอเวียงป่าเป้า ๙๑ กิโลเมตร
อำเภอเวียงแก่น ๑๒๗ กิโลเมตร
อำเภอเชียงของ ๑๔๑ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ๒๔ กิโลเมตร
กิ่งอำเภอดอยหลวง ๕๗ กิโลเมตร

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ตำรวจท่องเที่ยว 053-717-779
ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ถ.สนามบิน 053-793048
สถานีขนส่งเชียงราย 053-711224
ททท เชียงราย 053-744674-5
สายด่วนท่องเที่ยว 1672
สมาคมท่องเที่ยวเชียงราย 053-711-062

สนใจเที่ยวพักบนภูชี้ฟ้า  เข้าชมบรรยากาศได้
www.phuphamok.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 080-690-6909  /  086-089-8758 ซิ้น (Since)

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภูผาหมอก ที่พักบนภูชี้ฟ้า เชียงราย

สนใจเข้าชมบรรยากาศได้ที่ www.phuphamok.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  080-690-6909 // 086-089-8758 ชนินทร์ มงคลกระจ่าง (ซิ้น)

VDO บรรยากาศภูผาหมอกบนภูชี้ฟ้า ขณะหมอกกำลังวิ่งหาเราครับสวยมากๆๆๆ ถ่ายจากที่พักครับ
ถ้าชอบหรือสนใจยังไงลองติดต่อเข้ามาดูนะครับทั้งเรื่องสถานที่เที่ยวใกล้เคียง ราคาที่พัก อาหาร เราพร้อมยินดีต้อนรับครับ ทั้งแบบกางเต้นท์ หรือ รีสอร์ท จะมาเดี๋ยวมาคู่มาเป็นกลุ่มเราพร้อมต้อนรับด้วยรอยยิ้มเสมอดูจท่านเป็นญาติครับ
ภาพบรรยากาศที่พักครับ

ที่พักแบบ Town Home
ดวงอาทิตย์กำลังจะตกสวยมากๆๆๆดวงเท่าไข่ห่าน แต่หน้าคนถ่ายกับดวงอาทิตย์ไม่รู้ใครใหญ่กว่ากันอิอิ...
ถ่ายจากที่พัก วิวหมอกแค่อื้ม...
วิว หน้าที่พัก สวยสุดๆๆอยากให้ลอง
ช่วงหมอกกำลังจะลงแล้ว...
แผนที่สำหรับการเดินทางมายังภูผาหมอกบนภูชี้ฟ้าครับ
ฝากด้วยนะครับ